![]() |
|||
โครงการ
การสร้างวัฒนธรรมการวิจัยภายในโรงเรียน ช่วงปีที่ 3 ปีงบประมาณ 2556 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โดย นายสมคิด ศรีธร ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ผู้รับผิดชอบโครงการ |
|||
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ชื่อโครงการ การสร้างวัฒนธรรมการวิจัยภายในโรงเรียน ช่วงปีที่ 3 แผนงาน ขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา สนองกลยุทธ์ สพฐ . ข้อที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียน การสอนได้อย่างมีคุณภาพ มาตรการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๒ ผู้รับผิดชอบ นายสมคิด ศรีธร ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดำเนินการ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ - เดือนกันยายน ๒๕๕๕ |
|||
ที่มาและความสำคัญ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายที่การปฏิรูปการศึกษารอบสอง รวม ๔ ด้าน คือ ปฏิรูปครูยุคใหม่ ปฏิรูปผู้เรียนยุคใหม่ ปฏิรูปสถานศึกษายุคใหม่และปฏิรูปแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวปฏิรูปการศึกษา ทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยได้กำหนดให้ดำเนินโครงการสร้างวัฒนธรรมการวิจัย เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดทุกระดับ ส่งเสริมให้ครูได้จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมในการเรียนรู้ในสถานศึกษา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ทำหน้าที่สนับสนุน ให้ความรู้ เทคนิคแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยของสถานศึกษาในสังกัด การวิจัย เป็นงานสำคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการศึกษาซึ่งระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และที่แก้ไข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ ( ๕ ) และมาตรา ๓๐ ว่าสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการวิจัย อย่างไรก็ดีปัจจุบันความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการวิจัยทั้งของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังมีความแตกต่างกัน การสร้างวัฒนธรรมการวิจัย จึงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนที่ควรได้รับการดำเนินการ เพื่อ ยกระดับความรู้ความเข้าใจและความสามารถในจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมการก้าวสู่สังคมประชาคมอาเซียนต่อไปในอนาคต วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานของครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะ และประสบการณ์ในการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติและพัฒนางาน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ครูสามารถพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน ให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยภายในโรงเรียน และขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นได้ เป้าหมาย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒ จำนวน ๒ โรงเรียน ได้แก่ ๑) โรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคาร ๒) โรงเรียนบ้านละอูบ เป้าหมายเชิงปริมาณ ครู ในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าจำนวน ๑๘ คน มีความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยให้กับนักเรียน ผู้เรียนของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย ๕ ห้องเรียน มีความสามารถในการพัฒนาและแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน เป้าหมายเชิง คุณภาพ ๑ . สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการทำงานและการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย ๒. ครูผู้สอนในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนารูปแบบวิธีการสอนและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ๓ . ผู้เรียนในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน (งบประมาณสามารถถั่วจ่ายในทุกรายการได้) |
|||
รวมงบประมาณ
๒๕ , ๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) |
|||
การประเมินผล การประเมินผลการดำเนินงานมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้ ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนี้ ประเมินความรู้ความเข้าใจการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในโรงเรียน สำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน สังเกตการสอนของครู ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินตนเองของครูผู้สอน สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้ สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สัมภาษณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ประเมินชิ้นงานของนักเรียน ประเมินตนเองของนักเรียน ประเมินผลการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย การกำหนดนโยบายและแผนงานของโรงเรียน การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียน การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของศึกษานิเทศก์ รวบรวมข้อมูลที่ได้ มาประมวลผลทางสถิติและเชิงพรรณนา และจัดทำเป็นรายงานสรุปผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล แบบประเมินความรู้ความเข้าใจการสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในโรงเรียน แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน แบบสังเกตการสอนของครู แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินตนเองของครูผู้สอน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินชิ้นงานของนักเรียน แบบประเมินตนเองของนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน แบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียน แบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของศึกษานิเทศก์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษามีทักษะ และประสบการณ์การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติและพัฒนางาน ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีวัฒนธรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยภายในโรงเรียนและขยายไปยังโรงเรียนอื่นได้ |